ThaiSook I 2566
การทดสอบสมรรถภาพทางกายเป็นส่วนสำคัญในการประเมินสุขภาพ และความสามารถทางร่างกายของแต่ละคน จะวัดได้จากการทดสอบสมรรถภาพในด้านต่างๆ เช่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทน ความยืดหยุ่น ความว่องไว และสภาพร่างกายโดยรวมของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังสามารถประเมินระดับสมรรถภาพปัจจุบัน เพื่อนำไปใช้พัฒนาแผนการออกกำลังกาย และกำหนดเป้าหมายการออกกำลังกายได้
การทดสอบสมรรถภาพทางกาย
จากการประชุมคณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การกีฬา และการออกกำลังกาย 24 ท่าน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ได้สรุปรูปแบบการทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับประชาชนไทย ดังนี้
- สัญญาณชีพ (Vital signs) ทดสอบจาก :
- การวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ; หน่วย ครั้งต่อนาที
- ความดันโลหิตขณะพัก ; ความดันโลหิตที่เหมาะสมของคนปกติจะต้องไม่เกิน 120/80 ม.ม.ปรอท
- องค์ประกอบของร่างกาย (Body composition) โดยวัดจาก :
- ส่วนสูง (Height) ; หน่วย เซนติเมตร
- น้ำหนักตัว (Body weight) ; หน่วย กิโลกรัม
- ดัชนีมวลกาย (Body mass index) ; หน่วย กิโลกรัม/ตารางเมตร
- ค่ามาตรฐานอาเซียน ค่า BMI ไม่ควรเกิน 23
- รอบเอว (Waist circumference) ; หน่วย นิ้ว หรือ เซนติเมตร
- ขนาดรอบเอวปกติของผู้ชายไม่ควรเกิน 36 นิ้ว หรือ 90 เซนติเมตร
- ขนาดรอบเอวปกติของผู้หญิงไม่ควรเกิน 32 นิ้ว หรือ 80 เซนติเมตร
- รอบสะโพก (Hip circumference) ; หน่วย นิ้ว หรือ เซนติเมตร
- สัดส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก (Waist-to-hip ratio; WHR) ; หน่วย นิ้ว หรือ เซนติเมตร
- อัตราส่วนรอบเอว/รอบสะโพก (ผู้ชาย)
- อายุ 18-29 ปี มาตรฐาน 0.83-0.88
- อายุ 30-39 ปี มาตรฐาน 0.84-0.91
- อายุ 40-49 ปี มาตรฐาน 0.88-0.95
- อายุ 50-59 ปี มาตรฐาน 0.90-0.96
- 60 ปี ขึ้นไป มาตรฐาน 0.91-0.98
- อัตราส่วนรอบเอว/รอบสะโพก (ผู้หญิง)
- อายุ 18-29 ปี มาตรฐาน 0.71-0.77
- อายุ 30-39 ปี มาตรฐาน 0.72-0.78
- อายุ 40-49 ปี มาตรฐาน 0.73-0.79
- อายุ 50-59 ปี มาตรฐาน 0.74-0.81
- 60 ปี ขึ้นไป มาตรฐาน 0.76-0.83
- อัตราส่วนรอบเอว/รอบสะโพก (ผู้ชาย)
- ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ (Muscle strength and endurance/ fitness) ทดสอบจาก :
- การทดสอบลุกยืนเก้าอี้ (Sit-to-stand) ; หน่วย ครั้ง
- ค่าเกณฑ์มาตรฐานลุกยืนเก้าอี้ 60 วินาที (ชาย)
- อายุ 19-24 ปี ปานกลาง 39-45 ครั้ง
- อายุ 25-29 ปี ปานกลาง 39-46 ครั้ง
- อายุ 30-34 ปี ปานกลาง 34-42 ครั้ง
- อายุ 35-39 ปี ปานกลาง 34-41 ครั้ง
- อายุ 40-44 ปี ปานกลาง 33-40 ครั้ง
- อายุ 45-49 ปี ปานกลาง 30-37 ครั้ง
- อายุ 50-54 ปี ปานกลาง 28-35 ครั้ง
- อายุ 55-59 ปี ปานกลาง 26-33 ครั้ง
- ค่าเกณฑ์มาตรฐานลุกยืนเก้าอี้ 60 วินาที (หญิง)
- อายุ 19-24 ปี ปานกลาง 33-40 ครั้ง
- อายุ 25-29 ปี ปานกลาง 31-38 ครั้ง
- อายุ 30-34 ปี ปานกลาง 30-37 ครั้ง
- อายุ 35-39 ปี ปานกลาง 29-35 ครั้ง
- อายุ 40-44 ปี ปานกลาง 27-33 ครั้ง
- อายุ 45-49 ปี ปานกลาง 23-28 ครั้ง
- อายุ 50-54 ปี ปานกลาง 19-24 ครั้ง
- อายุ 55-59 ปี ปานกลาง 18-23 ครั้ง
- ค่าเกณฑ์มาตรฐานลุกยืนเก้าอี้ 60 วินาที (ชาย)
- การทดสอบดันพื้น (Push up) ; หน่วย ครั้ง
- ค่าเกณฑ์มาตรฐาน (ชาย)
- อายุ 18-29 ปี มาตรฐาน 37-50
- อายุ 30-39 ปี มาตรฐาน 27-40
- อายุ 40-49 ปี มาตรฐาน 22-31
- อายุ 50-59 ปี มาตรฐาน 17-25
- 60 ปี ขึ้นไป มาตรฐาน 11-17
- ค่าเกณฑ์มาตรฐาน (หญิง)
- อายุ 18-29 ปี มาตรฐาน 32-43
- อายุ 30-39 ปี มาตรฐาน 22-31
- อายุ 40-49 ปี มาตรฐาน 17-25
- อายุ 50-59 ปี มาตรฐาน 11-17
- 60 ปี ขึ้นไป มาตรฐาน 10-14
- ค่าเกณฑ์มาตรฐาน (ชาย)
- การทดสอบลุกยืนเก้าอี้ (Sit-to-stand) ; หน่วย ครั้ง
- สมรรถภาพของระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจ (Cardiorespiratory fitness test) ทดสอบจาก :
- การเดิน 6 นาที (6 minutes walk test)
- ค่าเกณฑ์มาตรฐาน เพศชาย 576 เมตร เพศหญิง 494 เมตร
- การเดิน 6 นาที (6 minutes walk test)
- ความอ่อนตัว (Flexibility) ทดสอบจาก :
- การทดสอบ YMCA หรือ V-sit-and-reach ; หน่วย นิ้ว
- ค่าเกณฑ์มาตรฐาน (ชาย)
- อายุ 17-19 ปี เกณฑ์ปานกลาง 14-18 นิ้ว
- อายุ 20-29 ปี เกณฑ์ปานกลาง 15-19 นิ้ว
- อายุ 30-39 ปี เกณฑ์ปานกลาง 13-17 นิ้ว
- อายุ 40-49 ปี เกณฑ์ปานกลาง 11-17 นิ้ว
- อายุ 50-59 ปี เกณฑ์ปานกลาง 11-15 นิ้ว
- อายุ 60-69 ปี เกณฑ์ปานกลาง 9-15 นิ้ว
- ค่าเกณฑ์มาตรฐาน (หญิง)
- อายุ 17-19 ปี เกณฑ์ปานกลาง 14-18 นิ้ว
- อายุ 20-29 ปี เกณฑ์ปานกลาง 14-18 นิ้ว
- อายุ 30-39 ปี เกณฑ์ปานกลาง 14-20 นิ้ว
- อายุ 40-49 ปี เกณฑ์ปานกลาง 13-19 นิ้ว
- อายุ 50-59 ปี เกณฑ์ปานกลาง 14-18 นิ้ว
- อายุ 60-69 ปี เกณฑ์ปานกลาง 14-18 นิ้ว
- ค่าเกณฑ์มาตรฐาน (ชาย)
- การทดสอบเอื้อมแตะหลัง (Back scratch test) ; หน่วย เซนติเมตร
- การทดสอบ YMCA หรือ V-sit-and-reach ; หน่วย นิ้ว
- การทรงตัว (Balance) ทดสอบจาก :
- การยืนขาเดียว (Single leg balance test) ; หน่วย วินาที
- ค่ามาตรฐานเฉลี่ย
- อายุ 18-39 ปี ยืนขาเดียว 43 วินาที
- อายุ 40-49 ปี ยืนขาเดียว 40.3 วินาที
- อายุ 50-59 ปี ยืนขาเดียว 37 วินาที
- อายุ 60-69 ปี ยืนขาเดียว 26.9 วินาที
- ค่ามาตรฐานเฉลี่ย
- การยืนขาเดียว (Single leg balance test) ; หน่วย วินาที
อ้างอิง: เอกสารประกอบการอบรมเพื่อเติมเต็มศักยภาพฯ ภายใต้โครงการพัฒนาแนวทางการขยายผลกระบบการสร้างเสริมสุขภาพแบบเข้มข้นจำเพาะคน โดย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน วันที่ 11 -13 มกราคม 2566
ThaiSook I 2566