การวัดองค์ประกอบของร่างกาย (ฺBody composition analysis)
การทดสอบสมรรถภาพทางกายเป็นส่วนสำคัญในการประเมินสุขภาพ และความสามารถทางร่างกายของแต่ละคน จะวัดได้จากการทดสอบสมรรถภาพในด้านต่างๆ ของร่างกาย
วันนี้แอดมินจะมาพูดถึงการวัดองค์ประกอบของร่างกาย (Body composition analysis) ร่วมถึงการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายอื่นๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ( คลิก )
อุปกรณ์ที่ใช้
- เครื่องชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง
- สายวัด
- เครื่องวัดองค์ประกอบของร่างกายบ Bioelectrical impedance analysis (BIA)
- เครื่องคำนวณ
วิธีการทดสอบ
- ผู้รับการทดสอบถอดรองเท้า สวมเสื้อผ้าที่เบาที่สุด และนำสิ่งของต่าง ๆ ที่อาจจะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นออกจากกระเป๋าเสื้อและกางเกง
- ทำการชั่งน้ำหนักบนเครื่องชั่งในท่ายืนตรง มือแนบข้างลำตัวรอจนตัวเลขปรากฏชัดเจน
- ทำการวัดส่วนสูงในท่าเดิม
- นำค่าน้ำหนักตัว และส่วนสูงมาคำนวณหาดัชนีมวลกาย มีหน่วยเป็น กิโลกรัม/ตารางเมตร จากสมการต่อไปนี้
ตัวอย่าง เช่น
ผู้รับการทดสอบมีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม มีส่วนสูง 1.62 เมตร
ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) = 50/1.622
= 50/2.62
= 19.08 กิโลกรัม/ตารางเมตร
5. วัดเส้นรอบเอวในหน่วยเซนติเมตร ในท่ายืนเท้า 2 ข้าง ห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร วัดที่ตรงระดับสะดือพอดี โดยควรวัดใน ช่วงหายใจออก ให้สายวัดแนบกับลำตัว ไม่รัดแน่นทำให้ระดับของสายวัดรอบเอวอยู่ในแนวขนานกับพื้น
6. วัดเส้นรอบสะโพกในหน่วยเซนติเมตร ในท่ายืนเท้า 2 ข้าง ห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร วัดจากจุดที่กว้างที่สุดของสะโพกของเรา โดยให้สายวัดอยู่ระนาบเดียวกันกับพื้นทุกจุด
7. นำค่ารอบเอว รอบสะโพกมาคำนวณหาสัดส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก (Waist-to-hip ratio)
ข้อควรระวัง/คำแนะนำ
ไม่ควรทำการชั่งน้ำหนกหลังจากรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ
ตารางที่ 3 ค่ามาตรฐานดัชนีมวลกาย
ที่มา : กรมอนามัย 2563
ตารางที่ 4 ค่ามาตรฐานสัดส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก (Waist-to-hip ratio)
เกณฑ์มาตรฐาน อัตรส่วนรอบเอว/รอบสะโพก
ที่มา : สสส.
อ้างอิง: เอกสารประกอบการอบรมเพื่อเติมเต็มศักยภาพฯ ภายใต้โครงการพัฒนาแนวทางการขยายผลกระบบการสร้างเสริมสุขภาพแบบเข้มข้นจำเพาะคน โดย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน วันที่ 11 -13 มกราคม 2566
ThaiSook I 2566