เพิ่มกล้ามเนื้ออย่างปลอดภัย ไม่เจ็บ และดีต่อสุขภาพ

ThaiSook I 2566 กล้ามเนื้อเป็นส่วนหนึ่งในร่างกายที่มีหน้าที่ในการช่วยออกแรงในการเคลื่อนไหว ความมั่นคง และการปรับเปลี่ยนท่าทาง รวมไปถึงปกป้องอวัยวะภายใน เนื่องจากกล้ามเนื้อนั้นจะสร้างความร้อนระหว่างการหดตัว ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้เช่นกัน ยิ่งกล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นและความแข็งแรง ยิ่งจะช่วยให้เราสามารถเคลื่อนไหว และทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ และฝึกความแข็งแรงมีความสำคัญต่อการรักษาสุขภาพและความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออย่างมาก การออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ เพิ่มความอดทน และเพิ่มสมรรถภาพทางกายโดยรวม รวมถึงโภชนาการที่เหมาะสม ปริมาณโปรตีนที่เพียงพอ ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต และซ่อมแซมกล้ามเนื้อเช่นกัน ในปัจจุบันคนเราจึงสนใจการออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อกันมากขึ้น แต่จะให้เกิดประโยชน์นั้นจะต้องทำอย่างถูกต้องและปลอดภัยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บตามมา บอดี้เวท (Body Weight) หรือ Weight Training exercise คือ การออกกำลังกายที่เน้นการเสริมแขน ขา ท้อง และกล้ามเนื้อต่าง ๆ ของร่างกาย โดยใช้แรงของน้ำหนักจากอุปกรณ์ต่างๆ หรืออาจใช้น้ำหนักของร่างกายตัวเองก็ได้ในการเพิ่มแรงต้านทานให้กับกล้ามเนื้อ และเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งในการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ วิธีนี้มักเรียกว่า “บอดี้เวท” หรือ “เวทเทรนนิ่ง” โดยท่าออกกำลังกายฝึกกล้ามเนื้อแบบบอดี้เวทที่ช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ประกอบด้วย ฝึกกล้ามเนื้อแขนหลัง (Tricep Dip), สควอท (Squat), บริหารหน้าท้อง (Crunch), บริหารไหล่และขา (Shoulder press … Read more

NCDs คืออะไร?

ThaiSook I 2566 โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือเรียกย่อว่า NCD (Non-communicable disease, NCD) คือ กลุ่มโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคจึงทำให้ไม่สามารถแพร่กระจายจากบุคคลหนึ่งไปอีกบุคคลหนึ่งได้ ซึ่งโรค NCDs นั้นเกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสมต่างๆ เป็นหลัก เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม และการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ได้แก่ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง ภาวะน้ำหนักเกิน และอ้วน ที่นำไปสู่การเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องหรือไม่ได้รับการดูแลรักษา จะยิ่งทำให้อาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และเกิดการสะสมจนเป็นโรคเรื้อรังได้ องค์การอนามัยโลก (WHO) สถิติผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs ในปี พ.ศ. 2552 พบว่าสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด มีถึง 63% ที่เกิดจากกลุ่มโรค NCDs และที่สำคัญกว่านั้นคือ กว่า 80% เป็นประชากรของประเทศที่กำลังพัฒนา ประเทศไทย จากสถิติล่าสุดพบว่ามี 14 ล้านคนที่เป็นโรค ในกลุ่มโรค NCDs … Read more

การออกกำลังกายแบบแรงต้าน (Resistance Training) คืออะไร

ThaiSook I 2566 การออกกำลังกายแบบแรงต้าน (Resistance Training) คือ การออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักหรือเครื่องมือช่วย เพื่อสร้างความแข็งแรงและเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายแบบแรงต้านจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น และยังช่วยเสริมสร้างกระดูกและข้อต่อให้แข็งแรงด้วย ตรงข้ามกับความเชื่อที่ว่า ผู้หญิงออกกำลังกาย สร้างกล้ามเนื้อ แล้วจะยิ่งดูบึก ตัวใหญ่ ไม่สวย การมีปริมาณกล้ามเนื้อมากขึ้นจะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรี่ต่อวันมากขึ้น ทำให้หากกินปริมาณเท่าเดิม จะมีแนวโน้มที่น้ำหนักลดลง และร่างกายดูสมส่วนมากขึ้น นอกจากนั้นปริมาณฮอร์โมนตามธรรมชาติของเพศหญิงจะไม่ทำให้เกิดเป็นกล้ามเหมือนนักกล้ามได้ง่ายนัก และการจะมีหุ่นแบบนักกล้ามที่ประกวดกันนั้น คงต้องออกกำลังกายอย่างหนักวันละหลายชั่วโมง และวางแผนการออกกำลัง ผักผ่อนให้เหมาะสม ถึงสามารถสร้างกล้ามเนื้อขนาดนั้นได้ ซึ่งไม่ง่ายนัก ดังนั้นวิธีการที่จะลดน้ำหนักได้ดีที่สุด ไม่ว่าสำหรับผู้ชาย หรือผู้หญิง ก็คือการสร้างกล้ามเนื้อนั่นเอง การออกกำลังกายแบบแรงต้าน มีอะไรบ้าง? บอดี้เวท (Body Weight) ซิทอัพ สควอท วิดพื้น ยกขา และแพลงก์ คือตัวอย่างทั้งหมดของการฝึกแบบแรงต้านด้วยบอดี้เวท ข้อดีของการออกกำลังกายเพื่อความแข็งแรงประเภทนี้สามารถเล่นคนเดียวได้ และใช้พื้นที่เพียงเล็กน้อยในการออกกำลังกาย ยางยืดออกกำลังกาย (Resistance Band) ใช้สำหรับฝึกกล้ามเนื้อโดยอาศัยการใช้แรงต้านจากยางยืด เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาไม่แพง น้ำหนักเบา ขนาดเล็ก และพกพาสามารถใช้งานได้ทุกที่ เหมาะกับผู้เล่นทุกระดับไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ที่ไม่มีประสบการณ์จนถึงขั้นแอดวานซ์ สามารถออกกำลังกายได้หลายส่วน และช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่มีขนาดเล็กได้ … Read more

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย

ThaiSook I 2566 การทดสอบสมรรถภาพทางกายเป็นส่วนสำคัญในการประเมินสุขภาพ และความสามารถทางร่างกายของแต่ละคน จะวัดได้จากการทดสอบสมรรถภาพในด้านต่างๆ เช่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทน ความยืดหยุ่น ความว่องไว และสภาพร่างกายโดยรวมของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังสามารถประเมินระดับสมรรถภาพปัจจุบัน เพื่อนำไปใช้พัฒนาแผนการออกกำลังกาย และกำหนดเป้าหมายการออกกำลังกายได้ การทดสอบสมรรถภาพทางกาย จากการประชุมคณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การกีฬา และการออกกำลังกาย 24 ท่าน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ได้สรุปรูปแบบการทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับประชาชนไทย ดังนี้ อ้างอิง: เอกสารประกอบการอบรมเพื่อเติมเต็มศักยภาพฯ ภายใต้โครงการพัฒนาแนวทางการขยายผลกระบบการสร้างเสริมสุขภาพแบบเข้มข้นจำเพาะคน โดย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน วันที่ 11 -13 มกราคม 2566 ThaiSook I 2566

WEIGHT TRAINING (เวทเทรนนิ่ง)

ThaiSook I 2566 การเวทเทรนนิ่ง คือการฝึกด้วยน้ำหนักหรือที่เรียกว่าการฝึกความแข็งแรงหรือการฝึกด้วยแรงต้านเป็นการออกกำลังกายประเภทหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้น้ำหนักหรือแรงต้านเพื่อสร้างและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายแบบใช้แรงต้านสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ใช้เครื่องมือ เช่น การใช้เครื่องมือ ได้แก่ ดัมเบล บาร์เบล และเครื่องมือที่มีน้ำหนักอื่นๆ ในระหว่างการฝึกด้วยน้ำหนัก กล้ามเนื้อจะหดตัวซ้ำๆ ต่อแรงต้าน ซึ่งทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อเสียหายในระดับจุลภาค ความเสียหายนี้จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อปรับตัวและแข็งแรงขึ้นในระหว่างกระบวนการฟื้นตัว ส่งผลให้กล้ามเนื้อมี ความแข็งแรง และความทนทานขึ้น การฝึกแบบเวทเทรนนิ่ง สามารถให้ประโยชน์มากมายนอกเหนือจากการสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรง รวมถึงความหนาแน่นของกระดูกที่ดีขึ้น เพิ่มการเผาผลาญ และสุขภาพโดยรวมและสมรรถภาพที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถช่วยป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับอายุ และลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วน ข้อแนะนำในการฝึกเวทเทรนนิ่ง จาด สสส.       ข้อแนะนำสำหรับการฝึกเวทเทรนนิ่ง ดังนี้ 1. อบอุ่นร่างกาย (warm up) ด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 10-15 นาที เพื่อเตรียมร่างกาย 2. ฝึกช้าๆ ด้วยอุปกรณ์น้ำหนักเบาในช่วงเริ่มต้น และค่อยๆ เพิ่มขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บจากการฝึก 3. … Read more

คำแนะนำการถ่ายภาพรูปร่างตัวเองประจำสัปดาห์

บทความโดย : รัฐภูมิ นิราศวรรณ (โค้ชเบนซ์) ThaiSook I 2566 การแต่งกาย ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สามารถเห็นสัดส่วนรูปร่างได้ชัดเจน และใส่ชุดเดิมทุกครั้ง เช่น วิธีปฏิบัติ การถ่ายภาพ 📷 รูปที่ 1 : ตัวอย่างการยืนถ่ายรูปอ้างอิงรูปจาก : https://cleanhealth.edu.au/blog/transformations-that-sell-our-guide-for-taking-transformation-photos/ 6. ภาพถ่ายด้านหน้า ยืนตรง กางแขนออกเล็กน้อย หงายฝ่ามือเข้าหากล้อง ไม่ต้องเกร็งร่างกาย กรณีไม่มีขาตั้งกล้อง ให้ใช้จุดตัด 9 ช่อง โดยให้จุดตัด 2 จุดบนอยู่ตรงกับไหล่ขวา และ ไหล่ซ้าย ถ้าไม่ตรงกันก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องเกร็งให้เท่ากัน 7. ภาพถ่ายด้านข้าง ยืนตรง ไม่ต้องเกร็งร่างกาย ถ่ายด้านขวา หรือ ทั้ง 2 ด้าน กรณีถ่ายทั้ง 2 ด้านให้ตั้งชื่อรูป หรือ พิมพ์ข้อความกำกับด้านขวา หรือ ด้านซ้ายในรูปด้วย กรณีไม่มีขาตั้งกล้อง … Read more

ขยับร่างกายให้อะไรมากกว่าที่คิด

ThaiSook I 2566 การเคลื่อนไหวร่างกายหรือกิจกรรมทางกาย (physical activity) หมายถึง การขยับเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบถใด ๆ ที่ทำให้เกิดการใช้พลังงาน ไม่ว่าเป็นการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ทำงานบ้าน เดินเล่น หรือแม้แต่การเล่นดนตรีโดย World Health Organization (WHO) แนะนำว่าการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอใน 1 สัปดาห์ คือมีกิจกรรมทางกายในระดับปานกลางมากกว่า 150 นาทีขึ้นไปนั้น เป็นประโยชน์อย่างมากต่อระบบหัวใจ ช่วยป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และยังมีผลดีต่อสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายโดยรวมอีกด้วย คำแนะนำส่วนมากจะเน้นให้เราออกกำลังกายให้มากขึ้น หรือ เพิ่มกิจกรรมทางกาย เช่น พยายามเดินให้มากขึ้น แต่ด้วยวิถีชีวิตในปัจจุบัน งานวิจัยพบว่าเราทุกคนมีค่าเฉลี่ยการนั่งมากกว่าวันละ 7-8 ชั่วโมง ดร.มาร์ก แฮมิลตัน (Marc Hamilton) จาก University of Houston จึงตั้งคำถามว่า จะมีอะไรที่เราทำได้ง่าย ๆ และนาน ๆ ในระหว่างนั่งทำงานอยู่ได้บ้างแล้วถ้าหากทำได้ การใช้แค่กล้ามเนื้อส่วนเล็ก ๆ ที่ไม่ทำให้เราเหนื่อยและไม่มีการใช้พลังงานโดยรวมมากนัก จะส่งผลอะไรต่อระบบการเผาผลาญของร่างกายโดยรวมของเราหรือไม่ หรือแค่ทำให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นแข็งแรงขึ้น … Read more

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย – การทรงตัว (Balance)

Single leg balance test การทดสอบสมรรถภาพทางกายเป็นส่วนสำคัญในการประเมินสุขภาพ และความสามารถทางร่างกายของแต่ละคน จะวัดได้จากการทดสอบสมรรถภาพในด้านต่างๆ ของร่างกาย วันนี้แอดมินจะมาพูดถึงการทดสอบ Single leg balance test ร่วมถึงการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายอื่นๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ( คลิก ) อุปกรณ์ทดสอบ วิธีการทดสอบ อ้างอิงภาพ : Sing Leg Balance Test nell’ ottica delle Catena Miofasciall (spine-center.it) ค่ามาตรฐานเฉลี่ย ปกติของการทดสอบ Single leg balance test อายุ (ปี) ยืนขาเดียว พื้นเรียบ เปิดตา (วินาที) 18-39 43 40-49 40.3 50-59 37 60-69 26.9 อ้างอิง: ThaiSook I 2566

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย – ความอ่อนตัว (Flexibility)

การทดสอบแตะมือด้านหลัง (Back scratch test) การทดสอบสมรรถภาพทางกายเป็นส่วนสำคัญในการประเมินสุขภาพ และความสามารถทางร่างกายของแต่ละคน จะวัดได้จากการทดสอบสมรรถภาพในด้านต่างๆ ของร่างกาย วันนี้แอดมินจะมาพูดถึงการทดสอบแตะมือด้านหลัง (Back scratch test) ร่วมถึงการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายอื่นๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ( คลิก ) การเตรียมตัวก่อนทดสอบ ให้ผู้รับการทดสอบทำการยืดเหยียด กล้ามเนื้อบริเวณไหล่ สะบัก หน้าอกและแขน อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ : ไม้บรรทัดหรือสายวัด ที่แบ่งระยะเป็นเซนติเมตร วิธีการปฏิบัติ ที่มา : สสส. ข้อควรระวัง/ข้อแนะนำเพิ่มเติม ขณะเหยียดปลายมือทั้ง 2 ข้างเข้าหากัน ห้ามงอนิ้วมือมาเกี่ยวหรือดึงกัน เกณฑ์มาตรฐาน การทดสอบแตะมือด้านหลัง (เซนติเมตร) ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อ้างอิง: เอกสารประกอบการอบรมเพื่อเติมเต็มศักยภาพฯ ภายใต้โครงการพัฒนาแนวทางการขยายผลกระบบการสร้างเสริมสุขภาพแบบเข้มข้นจำเพาะคน โดย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน วันที่ 11 -13 มกราคม 2566 ThaiSook I 2566

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย – ความอ่อนตัว (Flexibility)

YMCA หรือ V-sit-and-reach การทดสอบสมรรถภาพทางกายเป็นส่วนสำคัญในการประเมินสุขภาพ และความสามารถทางร่างกายของแต่ละคน จะวัดได้จากการทดสอบสมรรถภาพในด้านต่างๆ ของร่างกาย วันนี้แอดมินจะมาพูดถึงการทดสอบ YMCA หรือ V-sit-and-reach ร่วมถึงการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายอื่นๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ( คลิก ) การเตรียมตัวก่อนทดสอบ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อบริเวณหลัง ต้นขาด้านหลังสะโพก และไหล่ก่อนทำการทดสอบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ ไม้เมตร หรือเทปวัดระยะทาง ยาวไม่น้อยกว่า 25 นิ้ว แทนกล่องทดสอบ โดยการติดไม้เมตรไว้บนพื้น และใช้เทปกาวติดขวางเป็นมุมฉากที่ระยะทาง 15 นิ้ว โดยที่เทปกาวจะยาวประมาณ 10 นิ้ว วิธีปฏิบัติ ข้อควรระวัง/ข้อแนะนำเพิ่มเติม ที่มา : สสส. ค่าเกณฑ์มาตรฐาน อ้างอิง: ThaiSook I 2566