Whey Protein กินอย่างไร? ให้คุ้มค่า และได้ผลจริง

          ในบทความก่อน เราได้แนะนำเวย์โปรตีน (Whey Protein) แต่ละประเภท ว่ามีกี่แบบ แตกต่างกันยังไง และแบบไหนเหมาะกับใคร (อ่านบทความ) ในครั้งนี้เราจะมาแนะนำว่า ในครั้งนี้เราจะมาแนะนำว่า เวย์โปรตีน (Whey Protein) กินอย่างไรให้คุ้มค่าและได้ผลจริง! หลายคนอาจจะคิดว่าอยากมีกล้ามเนื้อ หรืออยากลดน้ำหนักแต่ยังคงรักษากล้ามเนื้อเอาไว้ได้ (จากบทความนี้) ยังมีความเข้าใจผิดที่หลายคนคิดว่า แค่กินเวย์โปรตีนก็ช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อ หรือไม่ทำให้อ้วนได้ โดยไม่ต้องออกกำลังกาย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะถ้าร่างกายได้รับพลังงานเกินโดยไม่เผาผลาญออก จะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ หากไม่มีเวลาออกกำลังกาย ให้เลือกกินโปรตีนจากอาหารธรรมชาติ เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หรือถั่วต่าง ๆแทนจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า แต่ ถ้ามีการออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย เวย์โปรตีนจะเป็นตัวช่วยเสริมที่ทำให้เห็นผลลัพธ์ได้ชัดเจนขึ้น วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการกินเวย์โปรตีนให้คุ้มค่าและได้ผลจริงกัน! เราควรกินโปรตีนวันละเท่าไหร่ถึงจะพอ?          โปรตีน เป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้าง และซ่อมแซมกล้ามเนื้อให้แข็งแรง จำเป็นต้องมีในทุกมื้ออาหาร ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อเท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันกระบวนการ แคทาบอลิซึม (Catabolism) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ใยกล้ามเนื้อถูกทำลายได้โปรตีนไม่ได้มีแค่ในเนื้อสัตว์อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังพบได้ในอาหารหลากหลายชนิด เช่น ผักใบเขียว ธัญพืช และถั่วต่าง ๆ ทำให้สามารถเลือกบริโภคได้หลากหลายตามความต้องการของร่างกายและไลฟ์สไตล์          โดยปกติหากเป็นคนทั่วไป ที่ไม่ได้ออกกำลังกายควรได้รับโปรตีน 1 กรับ … Read more

ทำความรู้จัก เวย์โปรตีน (Whey Protein) เลือกอย่างไร ให้เหมาะกับตัวคุณที่สุด

          วันนี้เรามาทำความรู้จักกับเวย์โปรตีนกัน เวย์โปรตีน คือโปรตีนที่สกัดจากนมวัว ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตชีส อุดมไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนที่ร่างกายต้องการ จึงได้รับความนิยมในหมู่นักกีฬาและผู้ที่ออกกำลังกาย เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่ร่างกายสามารถดูดซึม และนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป็นแหล่งโปรตีนเสริมจากอาหารธรรมชาติ เช่น นม ไข่ไก่ และอกไก่ อย่างไรก็ตาม ควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมตามความต้องการของร่างกาย เพราะการได้รับโปรตีนมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ วิธีใช้งาน          โดยทั่วไปแล้วเวย์โปรตีนสามารถนำมาทานในชีวิตประจำวันได้ง่าย โดยผสมเข้ากับเครื่องดื่ม บม หรืออื่น ๆ ได้ แต่อย่างไรก็ตามเวย์โปรตีนไม่ได้เหมาะสมกับทุกคน หากต้องการให้ได้ผลลัพธ์ที่มากที่สุด ควรพิจารณาดังนี้          ปริมาณที่รับประทาน ปริมาณที่แนะนำขึ้นอยู่กับบุคคล โดยบุคคลทั่วไปรับประทานโปรตีน 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ต่อวัน และสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายหนักสามารถรับประทานได้ 2 – 3 กรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ต่อวัน          ช่วงเวลาที่แนะนำ คือช่วงเวลาก่อนออกกำลังกาย หรือหลังจากออกกำลังกาย 30 – 60 นาที เพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการสารอาหารไปหล่อเลี้ยง ทำให้โปรตีนสามารถดูดซึมได้ดี อีกทั้งยังส่งเสริมการเจริญเติบโต และฟื้นฟูกล้ามเนื้ออีกด้วย          ประเภทของเวย์โปรตีน ในท้องตลาดมีโปรตีนหลากหลายประเภท แต่โดยปกติแล้วจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ … Read more

ลดน้ำหนักอย่างยั่งยืน เคล็ด (ไม่) ลับห่างไกลโยโย่เอฟเฟกต์

          วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพ และให้กลับไปอ้วนได้ยาก เนื่องจากหลายคนหากต้องการลดน้ำหนัก มักจะเลือกวิธีการอดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากวิธีการดังกล่าว จะทำให้ร่างกายสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และมวลไขมัน สัดส่วนที่หายไปในแต่ละส่วนแตกต่างกันไป โดยทั่วไปแล้ว           มวลกล้ามเนื้อ จะถูกนำมาใช้เป็นพลังงานก่อน ประมาณ 25-30% ของปริมาณน้ำหนักตัวที่ลดลง (ขึ้นอยู่กับระยะเวลา และความเข้มงวดของการอดอาหาร) หากไม่มีการออกกำลังกายร่วมด้วย อัตราการสูญเสียก็อาจเพิ่มสูงขึ้นด้วย           มวลไขมัน จะลดลงประมาณ 70-75% ของน้ำหนักตัวที่ลดลง แต่อัตราส่วนนี้จะลดลง หากร่างกายอยู่ในโหมดอดอาหารนานเกินไป เพราะระบบเผาพลาญจะเริ่มทำงานช้าลง           นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม ช่วงแรกๆ ที่อดอาหารเราสามารถลดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเวลาผ่านไป น้ำหนักจะลดช้าลงเพราะ “ระบบเผาผลาญเสื่อม” หรือการที่น้ำหนักขึ้นๆ ลงๆ ซ้ำๆ จนอัตราการเผาผลาญพื้นฐานลดลง ส่งผลให้กลับมาอ้วนง่ายกว่าเดิม หรือที่เรียกว่า “โยโย่เอฟเฟกต์” เราควรลดน้ำหนักอย่างไร ?          การลดน้ำหนักอย่างยั่งยืน เป็นเรื่องที่ต้องการความตั้งใจ และความสม่ำเสมอ โดยควรตั้งเป้าหมายที่เหมาะสม และไม่ลดน้ำหนักเร็วเกินไป เพื่อป้องกันปัญหาโยโย่เอฟเฟกต์ ซึ่งน้ำหนักจะกลับมามากกว่าเดิมได้ ซึ่งวิธีลดน้ำหนักอย่างยั่งยืน จะต้องเพิ่มกิจกรรม และการออกกำลังกาย จะช่วยให้การลดน้ำหนักมีประสิทธิภาพป้องกันการลดลงของมวลกล้ามเนื้อ และยังช่วยให้น้ำหนักไม่กลับมาเพิ่มอีก แต่ว่าหากออกกำลังกายอย่างเดียวโดยไม่ปรับพฤติกรรมการกิน ก็จะไม่ช่วยให้มีน้ำหนักลดลง ดังนั้นจะต้องออกกำลังกาย … Read more

ทำความรู้จักไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) อันตรายกว่าที่คุณคิด

          วันนี้เราจะมีทำความรู้จักกับไขมันในช่องท้อง หรือ Visceral Fat คือ ภาวะไขมันที่เกิดจากการสะสมไขมันไว้ในร่างกายเกินกว่าที่จะเผาพลาญได้ในแต่ละวัน ซึ่งในส่วนใหญ่แล้วมาจากการรับประทานอาหารประเภทไขมัน คาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น ร่างกายจะเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลส่วนเกินให้เป็นไขมัน ก่อนสะสมไว้ในอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง เมื่อเวลาผ่านไป ไขมันเหล่านี้จะเกิดการแข็งตัวมากขึ้น ส่งผลให้หน้าท้องยื่นออกมาอย่างชัดเจน           นอกจากการรับประทานอาหารเกินความจำเป็นแล้ว อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของภาวะไขมันในช่องท้องสูง คือการขาดการออกกำลังกาย และการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยเกินไปในแต่ละวัน แต่ในบางกรณีผู้ที่รับประทานอาหารน้อยอยู่แล้ว และยังพบว่ามีไขมันในช่องที่สูงอยู่ อาจจะเป็นเพราะปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น พันธุกรรม หรือการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ก็อาจมีส่วนเกี่ยวข้องเช่นกัน ความเสี่ยงจากไขมันในช่องท้อง           การมีไขมันในช่องท้องมากเกินไปเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรง เช่น ไขมันพอกอวัยวะ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และไขมันในช่องท้องยังสัมพันธ์กับ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งอาจนำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ วิธีลดไขมันในช่องท้อง          หากต้องการลดไขมันในช่องท้อง สิ่งที่ควรทำคือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยควรผสมผสานการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ (Cardio) และเวทเทรนนิ่ง (Strength Training) นอกจากนี้ ควรปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยลดการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูงและอาหารแปรรูป หันมาเน้นอาหารโปรตีนลีน ผัก ผลไม้ และคาร์โบไฮเดรตที่ดี เช่น … Read more

รู้จัก 9 ประเภทร่างกาย รูปร่างบอกอะไรคุณ ?

         จากบทความก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงเรื่อง การวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกายคืออะไร และในบทความนี้ เราจะพามาทำความรู้จักกับ Physique Rating ทั้ง 9 ประเภท ว่าแต่ละประเภทมีลักษณะอย่างไร และมีความหมายอย่างไร ทำความรู้จักกับ Physique Rating          Physique Rating หรือการประเมินระดับกล้ามเนื้อ และไขมันในร่างกายโดยจัดระดับผลลัพธ์ออกเป็น 9 ประเภทร่างกาย จะช่วยให้คุณทราบถึงประเภทร่างกายของคุณว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ทำไมต้องทราบถึงประเภทร่างกาย         เมื่อเริ่มต้นออกกำลังกาย หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การกิน การนอน ให้ดีขึ้น อาจจะใช้ระยะเวลาสักระยะกว่าจะเห็นผลลัพธ์จริง การวัดรูปร่างด้วย Physique Rating จะช่วยให้คุณได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับระดับไขมัน และมวลกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยตรวจจับผลลัพธ์ในกรณีที่รูปลักษณ์ภายนอกอาจดูดี แต่ระดับไขมันในร่างกาย (โดยเฉพาะไขมันในช่องท้อง) เพิ่มขึ้น การวัดนี้ให้ข้อมูลที่แม่นยำเกี่ยวกับสุขภาพ และความฟิตของคุณ และเป็นจุดเริ่มต้นในการวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การกิน การนอน และการออกกำลังกายอย่างมีประสิทธิภาพ ประเภทของร่างกายมีเกณฑ์การแบ่งอย่างไร ?         ในแต่ละประเภทร่างกายสามารถแบ่งได้ตามเกณฑ์ 2 อย่างคือ เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย (Body Fat Percentage) และระดับดัชนีมวลกล้ามเนื้อ (Muscle Mass Index) ดังนี้ … Read more

Body Composition Analysis การวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกายคืออะไร และข้อจำกัดของ BMI

          รู้หรือไม่ !? การใช้ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการวัดความสมส่วนของมวลร่างกายจากน้ำหนักและส่วนสูง แม้ว่าการใช้ดัชนีมวลกาย จะเป็นตัวชี้วัดที่ง่ายและรวดเร็ว แต่มีข้อจำกัดที่สำคัญ คือ ค่าดัชนีมวลกายไม่สามารถบอกได้ว่า น้ำหนักตัวของแต่ละบุคคลมาจาก กล้ามเนื้อ ไขมัน หรือปริมาณน้ำในร่างกาย สิ่งนี้จะทำให้ผู้ที่มีกล้ามเนื้อสูง เช่น นักกีฬา นักกล้าม ก็จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีน้ำหนักเกิน หรือมีภาวะเป็นโรคอ้วนได้ และในทางกลับกันผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายปกติ อาจจะมีไขมันในร่างกายสูง (ภาวะผอมแต่ไขมันเกิน) ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคหัวใจ และเบาหวาน ดังนั้น          การวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย (Body Composition Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เปอเซ็นต์ไขมันในร่างกาย มวลกล้ามเนื้อ น้ำในร่างกาย ไขมันในช่องท้อง และมวลกระดูก จึงกลายเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการประเมินสุขภาพมากกว่า และช่วยประเมินสุขภาพเชิงลึก แถมยังสามารถวางแผนดูแลสุขภาพเฉพาะคนได้แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วเราจะรู้องค์ประกอบร่างกาย (Body Composition) ของเราได้อย่างไร ?                   ในปัจจุบันมีเครื่องวิเคราะห์มวลร่างกาย (Body Composition Analyzer) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้สำหรับชั่งน้ำหนัก … Read more

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปี

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี ? การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นการดูแลสุขภาพที่มีประสัทธิภาพ เพราะเป็นการคัดกรองโรคเบื้องต้น และเป็นการหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหากตรวจพบในระยะเริ่มต้นจะได้รีบดูแลรักษาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างไกลโรคต่าง ๆ ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปีจึงมีประโยชน์ต่อตัวผู้รับการตรวจ และแพทย์ เพราะช่วยให้มีโอกาสป้องกันและรักษาก่อนที่โรคจะพัฒนาไปมากขึ้น ตรวจสุขภาพประจำปีตรวจอะไรบ้าง ? สำหรับการตรวจสุขภาพโดยรวมเบื้องต้นทั้งเพศหญิงและเพศชาย ประกอบไปด้วย: ตรวจร่างกายทั่วไป เช่น วัดความดัน ดัชนีมวลกาย และสอบถามประวัติสุขภาพ ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) หาความผิดปกติของเลือด ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) ประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน ตรวจระดับไขมันในเลือด เช่น คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ตรวจกรดยูริก ประเมินความเสี่ยงโรคเก๊าท์ ตรวจการทำงานของไต เช่น ระดับครีเอตินิน ตรวจการทำงานของตับ ประเมินความผิดปกติของตับและทางเดินน้ำดี ตรวจปัสสาวะ วินิจฉัยโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ ตรวจอุจจาระ ประเมินโรคในระบบทางเดินอาหาร (ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล) ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ประเมินการทำงานของหัวใจ เอกซเรย์ปอด ตรวจความผิดปกติในช่องทรวงอก อัลตราซาวนด์ช่องท้อง ตรวจความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้อง ตรวจสุขภาพตา เช่น การมองเห็นและความดันลูกตา การตรวจสุขภาพเพิ่มเติม สำหรับเพศหญิง: ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก การตรวจมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก ด้วยการตรวจแปปสเมียร์ (Pap … Read more