ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index)

สุขภาพเป็นต้นทุนชีวิต ที่ทำให้ดำเนินได้อย่างมีความสุข การมีสุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกท่านปรารถนามากที่สุด ดังนั้น การดูแลสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินควบคู่ไปพร้อมกับการดำรงชีวิต การเข้าใจสุขภาพด้วยตัวเลขสุขภาพ เป็นสัญญาณบอกถึงการเปลี่ยนแปลงสุขภาพ ช่วยให้การตัดสินใจในการดูแลสุขภาพ ไม่ล่าช้า

ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า BMI คือ ตัวชี้วัดเพื่อประเมินสภาวะของร่างกายว่ามีความสมดุลของน้ำหนักตัวต่อส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ สามารถใช้เป็นเครื่องมือจัดกลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน, มีน้ำหนักเหมาะสม, มีน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนสำหรับผู้ใหญ่ที่อายุ 20 ปีขึ้นไป โดยคำนวณจากค่าน้ำหนักตัวหน่วยเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงหน่วยเป็นเมตรยกกำลังสอง และมีหน่วยแสดงผลเป็นกิโลกรัมต่อตารางเมตร

ภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (underweight) หมายถึง ภาวะที่บุคคลมีค่าดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 18.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ส่งผลให้เสี่ยงต่อการสูญเสียมวลกระดูก ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุนระบบภูมิคุ้มกันต่ำ ป่วยง่าย ผิวบางหรือผิวแห้ ง ผมร่วงปัญหาสุขภาพช่องปาก อ่อนเพลียเหนื่อยง่าย และในผู้หญิงอาจมีประจำเดือนมาไม่ปกติ

ภาวะน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ (underweight)
ภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (underweight) หมายถึง ภาวะที่บุคคลมีค่าดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 18.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตรส่งผลให้เสี่ยงต่อการสูญเสียมวลกระดูก ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุนระบบภูมิคุ้มกันต่ำ ป่วยง่าย ผิวบางหรือผิวแห้ง ผมร่วง ปัญหาสุขภาพช่องปาก อ่อนเพลียเหนื่อยง่าย และในผู้หญิงอาจมีประจำเดือนมาไม่ปกติ

ภาวะน้ำหนักตัวเกิน(overweight) /โรคอ้วน (obesity)

ภาวะน้ำหนักตัวเกิน (overweight) และ โรคอ้วน (obesity) หมายถึง ภาวะที่บุคคลมีค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 23 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป ส่งผลให้เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ ได้แก่
โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ และการอักเสบเรื้อรัง

ค่าดัชนีมวลกายจากการคำนวณที่แตกต่างกันสามารถจำแนกความเสี่ยงได้ ดังนี้

กลุ่มความเสี่ยงค่าดัชนีมวลกาย (กิโลกรัมต่อตารางเมตร)
ผอม หรือน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์น้อยกว่า 18.5
ร่างกายสมส่วน18.5 – 22.9
ภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วนระดับที่ 123.0 – 24.9
โรคอ้วน หรือโรคอ้วนระดับที่ 225.0 – 29.9
โรคอ้วนอันตราย หรือโรคอ้วนระดับที่ 3ตั้งแต่ 30.0 ขึ้นไป

การปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ควรเพิ่มน้ำหนักสัปดาห์ละ 0.5 – 1 กิโลกรัม

รับประทานอาหารที่มีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตสูงเช่น นม เนื้อสัตว์ เนยถั่ว
รับประทานอาหารว่างบ่อยครั้งตลอดวัน
เพิ่มอาหารที่มีแคลอรี่สูงในอาหารจานหลัก เช่น ถั่วอัลมอน เมล็ดทานตะวัน เมล็ดเจีย
ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มก่อนมื้ออาหาร

การปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนควรกำหนดกิจกรรมการลดน้ำหนักและระยะเวลาให้ชัดเจน

ควบคุมการรับประทานอาหารโดยรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำให้พลังงานต่ำ เพิ่มการกินธัญพืชผักและผลไม้ ไม่ควรรับประทานอาหารมื้อหลักเกิน
3 มื้อต่อวัน

ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 3 – 5 ครั้งต่อสัปดาห์หรือเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายมากขึ้นเช่น การทำงานบ้านด้วยตนเองการเดินแทนการนั่งรถ

ไม่ควรใช้ยาลดความอ้วน โดยไม่ปรึกษาแพทย์

อ้างอิง

ดัชนีมวลกาย (Body Mass index),Know Your Numbers & Know Your Risks รู้ตัวเลข รู้ความเสี่ยงสุขภาพ,กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข