กลุ่มโรคอันดับหนึ่งที่คร่ำชีวิตคนไทยในปัจจุบันคือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือที่เรียกกันว่า “เอ็นซีดี” (non-communicable diseases) เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โขมันในเลือดสูง ซึ่งแม้ว่าการดำเนินโรคจะเซ็นไปอย่างช้า ๆ ไม่กระโตกกระตาก แต่จริง ๆ แล้วมีการสะสมอาการอย่างต่อเนื่อง แล:ก่อให้เกิดโรคที่รุนแรงขึ้นอย่างโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตเรื้อร้ง ฯลๆ นำไปสู่การสูญเสี่ย ไม่ว่าจะเสี่ยเวลา เสียเงิน ไปจนถึงเสี่ยชีวิต
ถ้าถามถึงสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคกลุ่มนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเมินว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลัก 4 อย่าง คือ ลดอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพิ่มการออกกำลังกาย ไม่สูบบุหรี่ และจำกัดการบริโภคแอลกอฮอล์ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ประมาณร้อยละ 80 และป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ประมาณ 1 ใน 3
ดังนั้นหากเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรรมการใช้ชีวิตโดยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมพักผ่อนให้พอเพียง ร่วมกับการจดบันทึกและติดตามสุขภาพเป็นประจำ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเหล่านี้ได้ ผู้ที่กำลังวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อยากออกกำลังกาย อยากดูแลสุขภาพ และอยากได้ผู้ช่วยที่จะมาคอยอำนวยความสะดวกให้แผนการมีสุขภาพดีดำเนินไปอย่างราบรื่นไม่มีสะดุด กองบรรณาธิการสาระวิทย์มีแอปพลิเคชันผลงานนักวิจัยไทย ดาวน์โหลดง่าย ใช้ฟรี มาแนะนำให้ลองใช้กัน ไทยสุข Thai Sook แอปพลิเคซันที่อยากให้คนไทยสุขภาพดีมีความสุข
แอปพลิเคชัน “ไทยสุข Thai Sook” พัฒนาขึ้นโดยทีมวิจัยกลุ่มนวัตกรรมแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ สวทช.
เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนไทยให้ห่างไกลจากการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ภัยเงียบที่เป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงอื่น ๆ
แอปฯ ไทยสุขเน้นการให้ความรู้คู่กับการลงมือทำ ผู้ใช้งานที่ต้องการติดตามดูแลพฤติกรรมของตัวเอง สามารถใช้ไทยสุขเป็นผู้ช่วยบันทึกข้อมูลกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน เช่น การออกกำลังกาย ปริมาณการกินผักผลไม้ ปริมาณน้ำที่ดื่ม ระยะเวลาในการนอน แล้วติดตามดูรายงานผลการใช้ชีวิตในแต่ละสัปดาห์ได้
แอปฯ ไทยสุขยังช่วยสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านการแข่งขันแบบออนไลน์ เช่น สะสมก้าวเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย หรือสะสมปริมาณการกินผักผลไม้เพื่อสนับสนุนการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ทั้งแบบสาธารณะที่ใครก็เข้าร่วมได้ และแบบเฉพาะกลุ่มที่เป็นการแข่งขันกันภายในหน่วยงานหรือกลุ่มเฉพาะกิจ ผู้สนใจเข้าแข่งขันเพียงแค่บันทึกข้อมูลตาม
เกณฑ์การแข่งขันในแต่ละวันอย่างสม่ำเสมอ ไทยสุขยังมีระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วยตรวจสอบข้อมูลการบันทึกก้าวเดินและผักผลไม้ให้ถูกต้องแม่นยำ ลดความผิดพลาดของการกรอกข้อกข้อมูล
สำหรับผู้ที่สวมใส่สมาร์ตวอตช์ แอปฯ ไทยสุขเชื่อมต่อเพื่อดึงข้อมูลอัตโนมัติได้จาก iOS Health, Google Fit, Garmin Connect, NSTDA Kiosk, DDC Public BP และยังมี”ไทยสุขวอตช์”สมาร์ตวอตช์ที่ออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อกับแอปฯ ไทยสุขได้โดยตรงไว้เป็นอีกหนึ่งทางเลือก
นอกจากนี้ไทยสุขยังสนับสนุน “โมเดลโค้ชสุขภาพในหน่วยงาน” เพื่อเป็นผู้ที่คอยให้ความรู้ คำแนะนำ และช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกายของผู้ใช้งานให้ถูกต้องเหมาะสมอีกด้วย
สายออกกำลังกาย สายรักสุขภาพอย่ารอช้า เข้าไปดาวน์โหลดแอปพลิเคขัน ไทยสุข Thai Sook ได้ทั้งระบบ Android และ iOS สำหรับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนใจใจใช้ระบบไทยสุขเป็นเครื่องมือช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการมีสุขภาพดีให้แก่ บุคลากร ติดต่อสอบถามได้ที่เฟซบุ๊กเพจ Thai Sook ไทยสุข หรือ Line ID: @thaisook
บทความต้นฉบับ
ออกกำลังกายท้าทายแรงโน้มถ่วง, นิตยสารสาระวิทย์ ฉบับที่ 132 เดือน มีนาคม 2567